คณะนิเทศศาสตร์ จัดการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) ด้านการวิจัย หัวข้อ“แนวทางการทำวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชุมชน” ประจำปีการศึกษา 2563

คณะนิเทศศาสตร์ จัดการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) ด้านการวิจัย หัวข้อ“แนวทางการทำวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชุมชน” ประจำปีการศึกษา 2563

      

ผลการดำเนินงาน KM การวิจัย หัวข้อ“แนวทางการทำวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชุมชน”จัดจำนวน 5 ครั้งระหว่างวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 เวลา 13.00-16.30 น.  ณ ห้องประชุม KM คณะนิเทศศาสตร์ ชั้น 11 อาคารเกษมนครา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ร่มเกล้า มีอาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 28 คน มากกว่าร้อยละ 50  วิทยากรแบ่งปันความรู้คืออาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ที่มีประสบการณ์ด้านการทำวิจัยกับชุมชนในพื้นที่ คือ ผศ.ดร.ณัฐพงค์ แย้มเจริญ และผศ.สิริวิมล เทพหัสดิน ผลการดำเนินงานพบว่า อาจารย์ที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีความเข้าใจการทำวิจัยเชิงพื้นที่ที่เน้นให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนมากขึ้น  แต่เห็นว่าคณะต้องมีเครือข่ายในพื้นที่ที่หลากหลายกลุ่มและรักษาต่อยอดเครือข่ายให้ได้ และควรดึงนักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมด้วย เพราะการทำวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนเป็นการทำวิจัยเชิงพื้นที่ที่จะมีลักษณะเป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) /วิจัยแบบมีส่วนร่วมเชิงปฏิบัติการ (Participatory Action Research: PAR) และสามารถประยุกต์เข้ากับการให้บริการวิชาการของคณะกับชุมชนร่วมด้วย ซึ่งน่าจะทำให้เกิดผลการวิจัยที่สอดคล้องกับแนวทางมาตาฐานการอุดมศึกษาใหม่ ที่เน้นบทบาทของคณะตามอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ และบริบทของสถาบัน โดยเฉพาะด้านผลลัพธ์ที่เกิดจากงานวิจัย งานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมที่เมื่อทำแล้วสามารถนำผลไปใช้ประโยชน์พัฒนาผู้เรียน ชุมชน สังคม องค์กรรัฐ/เอกชน และเป็นการบริการวิชาการแก่ชุมชน ได้อีกทางหนึ่งด้วย

สรุปองค์ความรู้ที่ได้

การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ“แนวทางการทำวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชุมชน” สรุปองค์ความรู้ ได้ดังนี้

  1. บริบทของมหาวิทยาลัยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปเยอะและประเด็นของการวิจัยก็ยังไปประเด็นที่สำคัญที่จะต้องอยู่คู่กับมหาวิทยาลัยต่อไป เพียงแต่ว่ารูปแบบของการวิจัยอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากพอสมควร โดยเฉพาะรูปแบบวิจัยที่ทางอาจารย์จะถนัดกันมากๆ คือรูปแบบการวิจัยโดยการลงพื้นที่ของชุมชน โดยการลงพื้นที่ทำวิจัยนี้จะเป็นการพัฒนาไปในด้านอื่น ๆ ด้วยและมีความยังยืนมากยิ่งขึ้น
  2. การลงพื้นที่วิจัยยังเป็นการประชาสัมพันธ์และการสร้างภาพลักษณ์ให้กับคณะนิเทศศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตอีกทางหนึ่ง โดยคณาจารย์ในคณะก็ต้องมีภาระงานที่มาเป็นคู่ขนานกับการเรียนการสอน
  3. การทำงานวิจัยในลักษณะนี้จะต้องทำงานเป็นทีมเพื่อให้งานออกมามีผลการวิจัยที่นำไปใช้ในพื้นที่ได้จริง สามารถพัฒนาสร้างความแข็งแกร่งและยั่งยืนในชุมชนหรือพื้นที่ได้
  4. แนวทางการทำวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนเพื่อจะเอาผลจากการวิจัยมาใช้กับชุมชน และการที่จะนำเอาการวิจัยมาใช้นั้นก็จะทำได้หลายรูปแบบ
  5. การทำวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน ผู้ทำวิจัยจะต้องมีชุมชนก่อนและอยากจะศึกษาหรือทำวิจัยกับชุมชนไหน ซึ่งชุมชนนั้นอาจจะลักษณะที่น่าสนใจ หรือมีลักษณะเฉพาะบางอย่างที่ผู้ทำวิจัยอยากที่จะเข้าไปศึกษาชุมชนนั้น ๆ หรือเพื่อการพัฒนาชุมชน และกลุ่มชุมชนนั้นก็ไม่จำเป็นต้องเป็นชุมชนต่างจังหวัด อาจจะมีเป็นชุมชนใกล้ๆ ในกรุงเทพฯ ก็ได้ถ้าผู้วิจัยเลือกแล้วว่าเป็นชุมชนที่น่าสนใจ แล้วผู้วิจัยทำไปเพื่ออะไร เช่น ชุมชนนั้นๆ อาจมีปัญหาแล้วอยากได้รับการแก้ไข หรืออาจจะทำอย่างไรให้ชุมชนยั่งยืนและมีความเข้มแข็งได้อย่างไร และผู้วิจัยก็ได้นำเอาผลที่ออกมาไปใช้แล้วทำให้ดีขึ้น และบางชุมชนก็มีความเป็นอยู่ที่ดีแล้ว เช่น ชุมชนมุสลิม ก็สามารถอยู่ได้โดยใช้เศรษฐกิจพอเพียง หรือใช้ศาสตร์ของพระราชา แต่มองว่าจะอยู่ไปได้นานแค่ไหน และจะยังคงอยู่ในแบบเศรษฐกิจพอเพียงแบบนั้นได้อย่างไร และด้วยในปัจจุบันก็มีสื่อออนไลน์อุปกรณ์การสื่อสารใหม่ ๆ เข้ามาแล้วจะรักษาวัฒนธรรมแบบเดิมๆ ไว้ได้ไหม เพราะบางชุมชนก็จะมีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง เป็นเหตุที่จะต้องทำการศึกษาและวิจัยค้นคว้าขึ้นมา เพื่อที่จะหาวิธีการอย่างไรให้ชุมชนนั้นๆ ยังคงอยู่ต่อไปได้อย่างไร บางชุมชนก็มีวัฒนธรรมของตนเองชัดเจน แต่คนข้างนอกรู้จักหมดเลย แต่ชุมชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียง หรือที่อยู่พื้นที่ใกล้ๆ กันไม่รู้จัก เลยทำให้เกิดปัญหาว่าจะทำอย่างไรให้ชุมชนที่อยู่บริเวณนั้น ๆ ได้รู้จัก
  6. เนื่องจากเราเป็นนิเทศศาสตร์ ก็จะต้องใช้ในเรื่องของการสื่อสารเข้ามาเป็นตัวช่วยการสื่อสารเพื่อพัฒนาชุมชนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามรูปแบบที่กำลังจะเปลี่ยนไป และการศึกษาวิจัยนั้นก็เพื่อนำเอาผลมาใช้ต่อ อาจจะทำแบบประเมินผลก็ได้ หรือการรณรงค์ การทำโครงการนำร่องเพื่อออกแบบไปสำรวจชุมชน เพื่อนำเอาข้อมูลประเมินว่าจะทำการในรูปแบบอย่างดีได้บ้าง
  7. การทำวิจัยนั้นจะต้องมีแหล่งทุน ถ้ากรณีที่มีการขอทุนวิจัยที่เป็นการพัฒนาต่าง ๆ ในหน่วยงานที่เป็นระดับประเทศหรือแหล่งอื่นก็ตามก็จะมีการกำหนดกรอบมาให้ผู้วิจัยว่าต้องการที่จะให้พัฒนาชุมชนนี้หรือว่าต้องการให้พัฒนาเกี่ยวกับเรื่องของอะไร ก็อาจจะมีเหมือนโจทย์ใหญ่ ๆ มาให้ และให้ผู้วิจัยดูตามกรอบวิจัยตรงนั้นได้ และอีกอย่างหนึ่งที่เป็นชุมชนที่น่าสนใจ เพราะชุมชนบางที่อาจมีวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนที่อื่น มีสินค้า ภูมิปัญญา แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรให้คนรู้จักหรือจะขายสินค้าอย่างไร จะสื่อสารหรือทำอย่างไรต่อเพื่อให้เป็นที่รู้จักของคนอื่น หรืออีกจุดหนึ่งที่ผู้วิจัยจะได้ทำวิจัยคือ การที่ออกไปทำกิจกรรม หรือไปบริการวิชาการข้างนอกต่าง ๆ
  8. เมื่อผู้วิจัยจะทำการวิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชนนั้นจะต้องทำให้การวิจัยเป็นผลงานวิชาการให้ได้ เนื่องจากทุกคนอาจจะได้ลงพื้นที่ชุมชนไปในพื้นที่ที่หลากหลายชุมชน อาจมีการจัดกิจกรรม หรือการไปทริป ของโครงการต่าง ๆ
  9. เนื่องจากเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาด้านการวิจัยที่กำหนดมาล่าสุด เน้นความเป็นสากล หรือการวิจัยระดับนานาชาติ หรือนำไปจนถึงจดสิทธิบัตร หรือเป็นผลงานสร้างสรรค์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชนหรือในการเรียน เพราะฉะนั้นในการที่ผู้วิจัยจะนึกหรือคิดในเรื่องของงานวิจัยก็จะต้องนึกถึงสิ่งต่างๆ เหล่านี้ด้วย
  10. ประเด็นซึ่งที่สำคัญอีกประการคือเรื่องของแหล่งทุน ดังนั้นการวิจัยของคณะนิเทศศาสตร์ จะเข้าได้กับแหล่งทุนไหนหรือในลักษณะใดได้บ้าง และในการเข้าสู่ชุมชนหรือการวิจัยในแหล่งชุมชนเกี่ยวกับการวิจัยนี้ได้อย่างไร หรือกองทุนพัฒนาสื่อมีประเด็นที่ดึงเข้าสู่ประเด็นของการทำวิจัยสื่อในลักษณะของการวิจัยของชุมชนได้อย่างไร และในเรื่องของวัฒนธรรม รูปแบบของวัฒนธรรม ซึ่งก็จะมีกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงกีฬาฯ ต่างๆ เหล่านี้ ผู้วิจัยมีอะไรที่จะเชื่อมโยงต่างๆ นี้ได้อย่างไรต้องคำนึงถึงด้วย
  11. การทำวิจัยจากชุมชนต้องคิดต่อเรื่องการทำบทความวิชาการด้วย งานที่ผู้วิจัยได้จากชุมชนโดยที่ผู้วิจัยได้ไปลงพื้นที่ ซึ่งมีงานวิชาการหลายชิ้นที่ได้ส่งขอตำแหน่งทางวิชาการ และหลายบทความก็ได้มาจากการลงพื้นที่ในการทำวิจัย และการลงพื้นที่เพื่อการทำวิจัยก็ได้แหล่งทุนจากภายนอก เช่น ออมสิน ปากบ่อ
  12. สำหรับความเป็น Community ถ้าจำกัดในเรื่องของพื้นที่ชุมขน ถ้าเป็นพื้นที่ใกล้ๆ มหาวิทยาลัยฯ อาจจะเสียเปรียบเพราะว่าไม่ใช่เหมือนมหาวิทยาลัยราชภัฏ จะได้เปรียบเพราะอยู่ในพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นของตนเอง และมีชุมชนที่จะให้พัฒนาเยอะมาก และถ้าเป็นชุมชน หรือเป็นหมู่คณะ ก็จะทำให้เกิดพื้นที่ได้ และทำให้ผู้วิจัยพัฒนาศึกษาได้หมด แต่ว่าจะได้ผู้วิจัยศึกษาได้หมดหรือไม่ หรือศึกษาได้เฉพาะบางเรื่องบางอย่างเพื่อให้ผู้วิจัยได้เรื่องก็พอ แต่ถ้าผู้วิจัยไม่มีแหล่งทุนก็จะทำให้งานวิจัยลำบากขึ้น
  13. การวิจัยกับชุมชนผู้วิจัยต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนด้วย และมองชุมชนเป็นเหมือนภาพนิ่ง ไม่ได้เข้าไปแตะอะไรของชุมชน แต่อยากศึกษาประวัติของความเป็นมาของชุมชน วิวัฒนาการของความเป็นอยู่ เช่น ชุมชนปากบ่อ และชุมชนต่าง ๆ เกิดขึ้นมาได้อย่างไร และอาจนำมาวิเคราะห์ เป็นต้น และผู้วิจัยมองเหมือนภาพนิ่งไม่ได้เข้าไปยุ่ง เพียงแต่ใช้เอกสารในการทำวิจัย และหาโอกาสไปพูดคุยในชุมชนบ้างเพื่อที่จะได้ข้อมูลมาทำวิจัย
  14. การวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนให้ระมัดระวังเรื่องความคิด ความเชื่อในชุมชนด้วย เพราะการลงพื้นที่ปัญหาก็คือ ปัญหาที่คนส่วนกลางมองว่าชุมชนมีปัญหาไม่เหมือนกันส่วนกลาง เช่น ในเรื่องของความเชื่อ ความศรัทธา ความนิยม ของคนในชุมชนไปตัดสินและเข้าไปแก้ไข แต่ก็อาจจะไม่ใช่เป็นความต้องการของชุมชนก็ได้ ดังนั้นควรมองชุมชนอย่างมีคุณค่า
  15. การลงไปทำงานในชุมชน การเข้าไปในพื้นที่ใหม่ สิ่งที่นักวิจัยต้องควรระวังเพราะนักวิจัยที่ลงพื้นที่ชุมชนนั้นเป็นคนนอก และถ้าเราเดินเข้าไปในชุมชนในฐานะอาจารย์หรือนักวิชาการคำตอบก็จะได้อีกแบบหนึ่ง แต่ว่าถ้าเราสร้างความคุ้นเคยกับชุมชน คำตอบก็จะได้อีกแบบหนึ่ง
  16. นอกจากนี้ข้อควรระวังในการเป็นนักวิจัยชุมชนคือ “การได้คำตอบที่เป็นความจริงจากชุมชน”ผู้วิจัยจะมั่นใจได้อย่างไรว่าข้อมูลที่ได้จากชุมชนนั้นเป็นความจริง และผู้วิจัยจะสร้างความมั่นใจให้ชุมชนไว้ใจได้อย่างไร
  17. งานวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนยังเป็นงานวิจัยที่จะสามารถตอบโจทย์ในเรื่องของชุมชน ถ้ามองในเชิงของนโยบาย เน้นนวัตกรรม จนถึงเรื่องการจดสิทธิบัตร

คุณจุฬาพร ด้วงทอง ผู้บันทึกการประชุม

ผศ.ดร.นิภากร กำจรเมนุกูล ผู้สรุปองค์ความรู้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *