คณะนิเทศศาสตร์ จัดการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) ด้านการเรียนการสอน หัวข้อ  “การใช้ Hybrid Technology เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนทางนิเทศศาสตร์”

คณะนิเทศศาสตร์ จัดการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) ด้านการเรียนการสอน หัวข้อ “การใช้ Hybrid Technology เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนทางนิเทศศาสตร์”

 

     

การดำเนินงาน KM ปีการศึกษา 2562 คณะนิเทศศาสตร์ ดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนรู้ ตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต/การเรียนการสอนสำเร็จลุล่วง  โดยคณะกรรมการ KM คณะนิเทศศาสตร์ ประชุมเพื่อหารือ และมติร่วมกันเพื่อกำหนดหัวข้อ/ความรู้ที่ต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนสรุปร่วมกันได้ว่า คณะนิเทศศาสตร์ มีอาจารย์ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ทักษะการใช้เครื่องมือสมัยใหม่ เครื่องมือการสอนผ่านสื่อออนไลน์สำหรับการเรียนการสอนทางนิเทศศาสตร์อยู่แล้ว อาทิ ดร.รจนา พึ่งสุข อ.รชิดา สิริดลลธี อ.บริรักษ์ บุณยรัตพันธ์ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องดังกล่าวจากผู้แบ่งปันความรู้ที่มีความรู้ในตนพร้อมใช้ จึงกำหนดให้มีการประชุม KM หัวข้อ “การใช้ Hybrid Technology เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนทางนิเทศศาสตร์” จัดจำนวน 5 ครั้งระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2562 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 เวลา 13.00-16.30 น.  ณ ห้องประชุม KM คณะนิเทศศาสตร์ ชั้น 11 อาคารเกษมนครา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ร่มเกล้า มี อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์    จำนวน 23 คนเข้าร่วมประชุม วิทยากรเป็นอาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ที่เชี่ยวชาญด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน คือ อ.ดร.รจนา พึ่งสุข และอ.รชิดา สิริดลลธี ผลการดำเนินงานพบว่า อาจารย์ที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จำนวนมากกว่าร้อยละ 50  มีซึ่งมีทั้งอาจารย์ที่ใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนมาก่อนหน้านี้และอาจารย์ที่สนใจทดลองใช้แลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันและเห็นตรงกันว่าการใช้เทคนิคการสอนแบบผสมผสานกับเทคโนโลยีน่าจะทำให้นักศึกษาสนใจเนื้อหาการเรียนมากขึ้นและเหมาะกับศาสตร์ด้านนิเทศศาสตร์มาก แต่ก็ต้องเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนพอสมควรและต้องคำนึงถึงคุณลักษณะกับปัจจัยสนับสนุนผู้เรียนที่แตกต่างกันร่วมด้วย

 

สรุปองค์ความรู้ที่ได้

องค์ความรู้ด้านการใช้ “การใช้ Hybrid Technology เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนทางนิเทศศาสตร์” สรุปได้ดังนี้

  1. เทคโนโลยีการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Hybrid Learning/Blended Learning) มีประโยชน์และเหมาะกับการเรียนการสอนทางนิเทศศาสตร์ที่กำหนดไว้ให้หลายวิชาในหลักสูตรต้องมีการฝึกปฏิบัติในชั้นเรียนและนำเสนอผลงานผ่านภาพเสียงความเคลื่อนไหวค่อนข้างมาก รวมถึงการที่ผู้สอนต้องนำตัวอย่างหรือกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับ media และ content มาประกอบการสอนค่อนข้างมาก
  2. การจัดการสอนแบบ Hybrid เน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์ในการเรียน (Interactive learning) ระหว่างผู้เรียนด้วยกันหรือผู้เรียนกับผู้สอนใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และนวัตกรรมการเรียนการสอนมาสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Active learning / Hybrid learning)
  3. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างการสอนในชั้นเรียน (Face-to-Face) กับการสอนแบบ e-Learning โดยนำส่วนที่ดีที่สุด (Best features) ของการสอนทั้งสองแบบมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน
  4. การเรียนแบบHybrid คือ การเรียนในห้องเรียน+เรียนออนไลน์
  5. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Hybrid โดยผ่าน platform ต่างๆ  ผู้สอนต้องทำการวางแผน และออกแบบเรื่องระบบการจัดห้องเรียน และระบบสื่อสาร ระบบการจัดเก็บข้อมูล การออกแบบบทเรียนและเนื้อหาการเรียนการสอน  ระบบการส่งงาน ระบบการวัดและประเมินผล เป็นต้น โดยต้องทำให้ชัดเจนและแจ้งไปยังผู้เรียนให้ทราบด้วย
  6. ระบบการจัดห้องเรียน เช่น การใช้ Edmodo ซึ่งเป็นระบบการเรียนรู้ที่ผสมผสานระหว่างการใช้ e-Learning กับ Social Network และเป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่
  7. การกำหนดบทเรียนที่จะใช้ในการเรียนการสอนสามารถผ่านไฟล์ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ไฟล์เอกสารที่เป็น word power point หรือ PDF file ส่วนไฟล์ภาพและเสียง (VDO) ก็สามารถนำมาใช้เป็นบทเรียนประกอบการสอนได้เช่น youtube และ ISSUU
  8. การใช้ ISSUU เป็นการนำบทเรียนที่ผลิตเป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ที่มีอยู่แล้วบรรจุลงไปใน electronic platform หรือในรูปแบบที่เป็น electronic document ทั้งนี้ ความแตกต่างกันของสื่อสิ่งพิมพ์กับ Digital Publishing คือ สิ่งพิมพ์เนื้อหาจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และความสมบูรณ์ของเนื้อหาจะถูกจำกัดในตัวเองเมื่อถูกพิมพ์ออกมาวางขายแล้ว และไม่มี Interactivity การเชื่อมโยงเนื้อหาอ้างอิงต้องอาศัยอุปกรณ์ประกอบภายนอก ในขณะที่ Digital Publishing รูปแบบเนื้อหาสามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยการอัพเดทข้อมูลและสามารถใช้รูปแบบของ Web เข้ามาเชื่อมต่อ มี Interactivity ที่สามารถตอบสนองกับผู้ใช้งานได้อย่างดี การเชื่อมโยงเนื้อหาใช้ Hyperlink สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายและฉับไว (อ้างประกอบจาก https://www.thumbsup.in.th/how-do-you-know-digital-publishing)
  9. สำหรับระบบการจัดเก็บข้อมูลสามารถจัดเก็บลง Google Drive ได้
  10. นอกจากนี้ การใช้เครื่องมือเพื่อจัดการเรียนการสอนแบบ Hybrid ยังสามารถใช้ผ่าน Google Classroom ได้ ซี่งมีประโยชน์ คือ สามารถจัดเก็บไฟล์งานให้อย่างเป็นระบบ ภายใต้ Folder ที่ถูกจัดไว้เป็นหมวดหมู่แล้ว สามารถสร้างเทมเพลต Assignment ทำสำเนาให้กับนักเรียนนักศึกษาแต่ละคนได้ สั่งงานและกำหนดวันส่งการบ้านได้ ตรวจงาน และให้คะแนนสะดวก  และประหยัดเวลาเช็คได้ว่าใครยังไม่ส่งงาน
  11. การใช้ Hybrid Technology เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนทางนิเทศศาสตร์ ยังสามารถใช้ผ่าน รูปแบบที่เรียกว่าClass 123 ได้อีกทางหนึ่งด้วย Class 123 เป็นเครื่องมือสำหรับบริหารจัดการชั้นเรียน เชื่อมต่อระหว่างอาจารย์ นักศึกษาและผู้ปกครองได้ และใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา
  12. Class 123 เป็นเทคโนโลยีการเรียนการสอนที่นำมาผสมผสานกับการเรียนทั้งระบบออนไลน์และในห้องเรียนไปพร้อมๆ กันได้ โดยทำหน้าที่ได้หลายอย่าง เช่น ระบบเชคชื่อนักศึกษา / ให้คะแนน-หักคะแนน สร้างการแข่งขันในการเรียนหรือเก็บคะแนนสะสมในชั้นเรียน เป็นเครื่องมือจับเวลาสำหรับทำกิจกรรมในชั้นเรียน  เครื่องมือสุ่ม จับกลุ่ม แบ่งกลุ่มการทำงานของนักศึกษา มีระบบแจ้งเตือนให้ในการควบคุมกิจกรรมในชั้นเรียน ใช้เป็นกระดานอิเล็กทรอนิกส์ สร้างโพสต์ประกาศข่าวต่างๆ
  13. สามารถตรวจสอบคะแนนจากงานที่มอบหมายนักศึกษา สามารถรายงานสรุปผลดาวนโ์หลดเป็นไฟล์ Excel
  14. สรุป เทคโนโลยีการเรียนการสอนแบบไฮบริด เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่สามารถสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้แบบผสมผสานก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ระหว่างผู้เรียน และผู้สอนได้เป็นอย่างดี เหมาะสมกับการเรียนรู้ทางนิเทศศาสตร์ที่ต้องอาศัยเครื่องมือและข้อมูลประกอบการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Social Network) เป็นการนำเอารูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติ (Traditional face-to-face classroom) มาผสมผสานกับรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Learning) ในลักษณะการสื่อสารแบบประสานเวลา (Synchrous Mode) โดยภาษาอังกฤษเรียกว่า Hybrid Learning/Blended Learning

สำหรับอาจารย์ หรือเจ้าหน้าที่ท่านใดสนใจจะเรียนรู้และพัฒนาเรื่องนี้ต่อไปสามารถแลกเปลี่ยนความรู้เพิ่มเติมกับอาจารย์ในคณะที่ทดลองใช้การเรียนการสอนแบบ Hybrid Technology ได้ คือ อ.ดร.รจนา พึ่งสุข อ.รชิดา สิริดลลธี และอ.บริรักษ์ บุณยรัตพันธ์

 

ผศ.ดร.นิภากร กำจรเมนุกูล

ผู้บันทึกและสรุปองค์ความรู้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *