กลยุทธ์การพัฒนาผู้เรียนแบบ กลยุทธ์การพัฒนาผู้เรียนแบบ Active Learning

กลยุทธ์การพัฒนาผู้เรียนแบบ กลยุทธ์การพัฒนาผู้เรียนแบบ Active Learning

เรียบเรียงโดย อาจารย์เพ็ญจุรี คันธวงศ์

การจัดการเรียนการสอนแบบ Outcome-Based Education (OBE) นั้น ต้องมีการวางแผนหลักสูตรโดยระบุถึง

  1. Learning Outcome | LO
  2. Program Learning Outcome | PLO  ระดับหลักสูตร
  3. Year Learning Outcome | YLO ระดับชั้นปีการศึกษา
  4. Course Learning Outcome | CLO ระดับรายวิชา
  5. Lesson Learning Outcome | LLO ระดับบทเรียน

โดย จะต้องพัฒนาผู้เรียนด้าน Knowledge -Skill -Attitude (K-S-A) ผ่านการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ซึ่งเป็น กระบวนการที่เน้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้นั้น ๆ โดยมีการลงมือปฏิบัติที่มีรูปแบบหลากหลาย เน้นการปฏิบัติเช่น การวิเคราะห์ การ สังเคราะห์ และการระดมสมอง การคิดอย่างมีระบบ การสื่อสาร การนำเสนอ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและ เหมาะสม บทบาทของผู้เรียน มีการปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน และผู้เรียนไปด้วยกัน บทบาทของผู้สอนควรเน้นไปที่การกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความอยาก และกระตือรือร้นในการทำ กิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงผู้สอนควรจัดสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับกิจกรรมในการเรียนรู้อีกด้วย

ลักษณะของการเรียนแบบ Active Learning

  1. เป็นการพัฒนาศักยภาพการคิดการแก้ปัญหาและการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดระบบการเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้โดยมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในรูปแบบของความร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน
  3. เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูลข่าวสารสารสนเทศสู่ทักษะการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์และประเมินค่า
  4. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้สูงสุด
  5. ผู้เรียนได้เรียนรู้ความมีวินัยในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
  6. ความรู้เกิดจากประสบการณ์และการสรุปของผู้เรียน
  7. ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง

การจัดการเรียนการสอน

  1. การเรียนการสอนและกิจกรรมที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้ามามี ส่วนร่วมในการตัดสินใจ หรือสามารถกำหนดอะไรบางอย่างได้  เช่น สามารถเลือกหัวข้องานได้ด้วยตนเอง หรือมีส่วนร่วมในการประเมินผลงานของเพื่อน
  2. ทุกรายวิชาในหลักสูตรต้องจัดการเรียนการสอนแบบ active learning เพราะ CLOs ของทุกรายวิชาเป็น action ต้องสามารถทำอะไรได้ เช่น CLO บอกว่า สามารถอธิบาย….ได้ ถ้าจัดการเรียนการสอน โดยการสอนเพียงอย่างเดียว จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนสามารถอธิบายได้ ต้องมี activity ให้ผู้เรียนฝึกอธิบายด้วย มากกว่ายึดการสอบเพียงอย่างเดียว
  3. หลักสูตรต้องกำหนด life-long learning (lll) ของหลักสูตรก่อนว่าอยากให้ผู้เรียนมีทักษะอะไร เพื่ออะไร ในระยะยาว ต้องอธิบายได้ แล้วการจัดการเรียนการสอน และ/หรือกิจกรรมเสริมหลักสูตรและต้องเป็นทักษะที่เฉพาะ และมีการวัดและประเมินผล ตามระยะเวลา ของหลักสูตร ว่าถ้าผู้เรียนผ่านตัวชี้วัด ก็น่าจะบอกได้ว่าผู้เรียนจะมีทักษะนั้นต่อไปในอนาคต
  4. การเรียนการสอนและกิจกรรมที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ต้องปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความคิดใหม่ๆ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ mindset ให้ครบทุกด้าน แต่ไม่จาเป็นต้องเป็นวิชาเดียวกัน หรือไม่จำเป็นต้องในทุกรายวิชาในหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนต้องสอดคล้องกับ CLOs ของรายวิชาที่กำหนด และตอบโจทย์ภาคการทำงานหรือสังคม มีระบบที่ชัดเจนในการทบทวนและปรับปรุงการเรียนการสอนและกิจกรรมที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถระบุได้ว่า ทบทวนเมื่อไหร่ ใครทำ ใช้ข้อมูลอะไรในการทบทวน และมีการปรับปรุง/ทำให้เป็นมาตรฐาน อะไรอย่างไร

(อ้างอิงจากเอกสารงานประกันคุณภาพ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *