ยินดีต้อนรับ
หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตเป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาความรู้ความสามารถของนักกฎหมายให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ของชาติที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพนิติศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตจึงเป็นหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งหลักสูตรหนึ่ง
กิจกรรม
คู่มือการเขียนบทความวิชาการ พ.ศ.2565
คู่มือ
การเขียนบทความทางวิชาการ
จัดทำโดย
คณะอนุกรรมการจัดการความรู้
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
โครงการ
เรื่อง การเขียนบทความทางวิชาการ
ลักษณะของบทความวิชาการ บทความวิชาการ (Academic article) เป็นงานเขียนวิชาการซึ่งมีการวิเคราะห์ประเด็นตาม หลักวิชาการ มีการสำรวจวรรณกรรมและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อสนับสนุนและสามารถสรุปผลการ วิเคราะห์ในประเด็นนั้นได้ มีเนื้อหาเน้นหนักไปในด้านวิชาการ เสนอความคิด วิทยาการใหม่ หรือเป็น การตีความ ค้นคว้าหาข้อเท็จจริงที่แปลกใหม่มาเสนอต่อผู้อ่าน ลักษณะเฉพาะของบทความประเภทนี้ คือ ลีลาการเขียน ภาษา ศัพท์ เป็นไปตามหลักวิชาการ ซึ่งบางครั้งผู้เขียนอาจเสนอแนวคิดใหม่เพื่อ ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการที่เชื่อถือเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ (ลลิตา กิตติประสาร, 2554: 469 อ้างถึงใน สัญญา เคณาภูมิ, 2560) อย่างไรก็ตีบทความวิชาการมักจะมี ลักษณะเฉพาะอยู่หลายประการ ได้แก่ (วรางคณา จันทรคง, 2557 อ้างถึงใน สัญญา เคณาภูมิ, 2560)
- ต้องเป็นเรื่องที่ผู้อ่านส่วนมากกำลังสนใจอยู่ในขณะนั้น อาจเป็นปัญหาที่คนทั่วไปอยาก ทราบว่าจะดำเนินต่อไปอย่างไร หรือมีผลเช่นไร หรือเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ หรือเข้ายุคเข้าสมัย
- ต้องมีสาระแก่นสาร อ่านแล้วได้ความรู้หรือความคิดเพิ่มเติม มิใช่เรื่องเลื่อนลอย เหลวไหลไร้สาระ
- ต้องมีทัศนะ ข้อคิดเห็น และหรือ ข้อวินิจฉัยของผู้เขียนแทรกอยู่ด้วย
- มีวิธีการเขียนที่ชวนให้อ่าน ทำให้เพลิดเพลินและชวนคิด
- เนื้อหาสาระและวิธีเขียนเหมาะแก่ผู้อ่านระดับที่มีการศึกษาทั้งนี้เพราะผู้อ่านที่มีการศึกษาน้อยมักจะไม่อ่านบทความแต่จะอ่านข่าวสดมากกว่า
- มีการนำเสนอความรู้หรือความคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางวิชาการที่เชื่อถือได้ในเรื่องนั้นๆ โดยมีหลักฐานทางวิชาการอ้างอิง
- มีการวิเคราะห์ วิจารณ์ ให้ผู้อ่านเห็นประเด็นสำคัญอันเป็นสารประโยชนที่ผู้เขียนต้องการ นำเสนอแก่ผู้อ่านซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ส่วนตัวหรือประสบการณ์และผลงานของผู้อื่นมาใช้
- มีการเรียบเรียงเนื้อหาสาระอย่างเหมาะสมเพื่อช่วยให้ผู้อ่าน
- เกิดความกระจ่างในความรู้ความคิดที่นำเสนอ มีการอ้างอิงทางวิชาการและบอกแหล่ง อ้างอิงทางวิชาการอย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิชาการและจรรยาบรรณของนักวิชาการ
- มีการอภิปรายให้แนวคิด แนวทางในการนำความรู้ ความคิดที่นำเสนอไปใช้ให้เป็น ประโยชน์หรือมีประเด็นใหม่ๆ ที่กระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดความต้องการสืบเสาะหาความหรือพัฒนา ความคิดในประเด็นนั้นๆ ต่อไป เป็นต้น
ลักษณะของบทความที่มีคุณภาพ (พร้อมภัค บึงบัว และคณะ, 2561)
- ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานทางวิชาการ
- ได้รับการยอมรับเผยแพร่ นำเสนอหรือตีพิมพ์
- มีนักวิจัยนำไปใช้อ้างอิงและใช้ประโยชน์ ลักษณะของบทความตามหลัก 7C
- ความถูกต้อง (Correctness)
- ความมีเหตุผลมั่นคง (Cogency)
- ความกระจ่างแจ้ง (Clarity)
- ความสมบูรณ์ (Completeness)
- ความกะทัดรัด (Concise)
- ความสม่ าเสมอ (Consistency)
- ความเชื่อมโยง (Concatenation)
องค์ประกอบของบทความวิชาการ
- ชื่อเรื่อง
1.1 ใช้ภาษาที่เป็นทางการ ชื่อเรื่องชัดเจนตรงไปตรงมา และครอบคลุมประเด็นของเรื่อง
1.2 ไม่จำเป็นต้องตรงกับชื่องานวิจัย (กรณีส่วนหนึ่งส่วนใดของงานวิจัย)
1.3 ควรมีลักษณะทั้งแบบ Didactic และ Lapidaric Didactic : มองเห็นความสำคัญของแนวคิดหลักและประโยชน์ที่ได้รับ Lapidaric : เห็นแก่นขององค์ความรู้
1.4 ประเด็นที่เป็นข้อสงสัย ขัดแย้ง ยังไม่ยุติ
1.5 ประเด็นที่เป็นเรื่องใหม่ ทันต่อยุคสมัย เป็นกระแสความสนใจ
1.6 ประเด็นนวัตกรรม
1.7 ประเด็นที่วารสารต้องการ ตรงกับ Theme 4 1.8 ประเด็นที่มีคุณค่าทางวิชาการ
- บทคัดย่อ/Abstract
2.1 บทคัดย่อในบทความวิชาการ เป็นการสรุปประเด็นเนื้อหาที่เป็นแก่นสำคัญ เน้น ประเด็นสำคัญของงานที่ต้องการนำเสนอจริงๆ
2.2 ควรเขียนให้สั้น กระชับ มีความยาวไม่เกิน 10-15 บรรทัด (หรือตามที่แหล่งตีพิมพ์ กำหนด)
2.3 บทคัดย่อมักจะประกอบด้วยเนื้อหา 3 ส่วน คือ เกริ่นนำ สิ่งที่ทำสรุปผลสำคัญที่ได้ ซึ่งอ่านแล้วต้องเห็นภาพรวมทั้งหมดของงาน
2.4 Abstract ต้องตรงตามบทคัดย่อ
- คำสำคัญ/Keyword
3.1 ควรเลือกสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบทความ ประมาณ 3-5 คำ
3.2 คำสำคัญในภาษาไทยต้องตรงกับคำสำคัญในภาษาอังกฤษ
3.3 เป็นคำที่มีนัยสำคัญที่ปรากฏในชื่อเรื่อง
3.4 เป็นคำค้นจากดัชนีเอกสารในวารสารและดัชนีประเภทต่างๆ
- บทนำ/ส่วนนำ
4.1 เป็นส่วนที่ผู้เขียนจูงใจให้ผู้อ่านเกิดความสนใจในเรื่องนั้น
4.2 ใช้ภาษาที่กระตุ้น จูงใจผู้อ่าน
4.3 ยกปัญหาที่กำลังเป็นที่สนใจมาอภิปราย
4.4 ตั้งประเด็นคำถามหรือปัญหาที่ท้าทายความคิดของผู้อ่าน
4.5 กล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้อ่านจะได้รับจากการอ่าน
4.6 ผู้เขียนกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการเขียนบทความ หรือให้คำชี้แจงที่มาของการ เขียนบทความนั้น
4.7 บอกขอบเขตของบทความเพื่อช่วยให้ผู้อ่านไม่คาดหวังเกินขอบเขตที่กำหนด
4.8 ปูพื้นฐานที่จำเป็นในการอ่านเรื่องนั้นให้แก่ผู้อ่าน
4.9 หลักการและเหตุผล (rationale) หรือความเป็นมาหรืภูมิหลัง (Background) หรือ ความสำคัญของเรื่องที่เขียน เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบเป็นพื้นฐานไว้ก่อนว่าเรื่องที่เลือกมาเขียนมี ความสำคัญหรือมีความเป็นมาอย่างไร เหตุผลใด ผู้เขียนจึงเลือกเรื่องดังกล่าวขึ้นมาเขียน
4.10 วัตถุประสงค์เป็นการเขียนว่าในการเขียนบทความในครั้งนี้ต้องการให้ผู้อ่านได้ทราบ เรื่องอะไรบ้าง จำนวนวัตถุประสงค์แต่ละข้อไม่ควรมีมากเกินไปและวัตถุประสงค์แต่ละหัวข้อจะต้อง สอดคล้องกับเรื่องหรือเนื้อหาของบทความ
4.11 ขอบเขตของเรื่อง (ถ้ามี) ผู้เขียนต้องการจะบอกกล่าวให้ผู้อ่านทราบและเข้าใจตรงกัน เพื่อเป็นกรอบในการอ่าน อาจขึ้นอยู่กับปัจจัยในการเขียน ได้แก่ ความยาวของงานที่เขียน หากมีความ ยาวไม่มากก็ควรกำหนดขอบเขตการเขียนให้แคบลง ไม่เช่นนั้นผู้เขียนจะไม่สามารถนำเสนอเรื่องได้ ครบถ้วนสมบูรณ์ และระยะเวลาที่ต้องรวบรวมข้อมูลอาจชี้แจงการกำหนดเรื่องที่จะเขียนที่ลึกซึ้ง สลับ ซับช้อน หรือเป็นเรื่องเชิงเทคนิคอาจจะยกต่อการรวบรวมข้อมูลและเรียบเรียงเนื้อเรื่อง
4.12 คำจำกัดความหรือนิยามต่างๆ (ถ้ามี) คำจำกัดความที่ผู้เขียนเห็นว่าควรระบุไว้เพื่อ เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านในกรณีที่คำเหล่านั้น ผู้เขียนใช้ในความหมายที่แตกต่างจากความหมายทั่วไปหรือ เป็นคำที่ผู้อ่านอาจจะไม่เข้าใจความหมายถึงเป็นการทำความเข้าใจและการสื่อความหมายให้ผู้เขียน บทความและผู้อ่านบทความเข้าใจตรงกัน รวมทั้งเป็นการขยายความหมายให้สามารถตรวจสอบหรือ สังเกตได้
- เนื้อหาสาระ ผู้เขียนนำเสนอหลักวิชาการที่จะต้องคำนึงถึงในการเขียน ได้แก่ กรอบแนวความคิด (conceptual framework) ที่ผู้เขียนใช้ในการเขียนจะต้องแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงของเหตุที่นำไปสู่ผล (causal relationship) การอ้างอิงข้อมูลต่างๆ การลำดับความ การบรรยาย วิธีการอ้างอิง สถิติ และข้อมูลต่างๆ ที่ใช้ในการประกอบเรื่องที่เขียน เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจและประทับใจมากที่สุด
5.1 การจัดลำดับเนื้อหาสาระ
5.1.1 การจัดลำดับเนื้อหาสาระ
5.1.2 วางแผนจัดโครงสร้างของเนื้อหาสาระที่จะนำเสนอ
5.1.3 จัดลำดับเนื้อหาสาระให้เหมาะสม
5.1.4 การนำเสนอเนื้อหาสาระควรมีความต่อเนื่องกันเพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจสาระนั้น ได้โดยง่าย
5.2 ด้านสไตล์การเขียน ผู้เขียนแต่ละคนย่อมมีสไตล์การเขียนของตนซึ่งจะเป็นเอกลักษณ์ สิ่งที่ควรคำนึง คือ ผู้เขียนจะต้องเขียนอธิบายเรื่องนั้นๆ ให้ผู้อ่านเกิดความกระจ่างมากที่สุด ใช้เทคนิคต่างๆ ที่จำเป็น เช่น การจัดลำดับหัวข้อ การยกตัวอย่างที่เหมาะสม การใช้ภาษาที่กระชับชัดเจน เหมาะสมกับผู้อ่าน เป็นต้น
5.3 การวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ ควรนำเสนอความคิดเห็นของผู้เขียนด้วยการวิเคราะห์วิจารณ์ข้อมูล เนื้อหาสาระ เป็น การริเริ่มสร้างสรรค์ของผู้เขียน การวิเคราะห์วิจารณ์อาจนำเสนอพร้อมกับการนำเสนอเนื้อหาสาระตาม ความเหมาะสมกับลักษณะเนื้อหาของเรื่อง
5.4 ด้านการใช้ภาษา ต้องใช้คำในภาษาไทย ใส่คำภาษาต่างประเทศไว้ในวงเล็บ เขียนคำให้ถูกต้องตาม หลักเกณฑ์ของราชบัณฑิตสถาน สะกดคำให้ถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ควรตรวจทานงานไม่ให้ผิดพลาด เพราะจะเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการต่อไป
5.5 ด้านวิธีการนำเสนอ นำเสนอเนื้อหาสาระให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายและรวดเร็ว ใช้เทคนิคต่างๆ ช่วยนำเสนอ เช่น การใช้ภาพ แผนภูมิ ตาราง แผนสถิติเป็นต้น ควรนำเสนอสื่อต่างๆ อย่างเหมาะสมและถูกต้องตาม หลักวิชาการ เช่น การเขียนซื่อตาราง การให้หัวข้อต่างๆ ในตาราง เป็นต้น
- บทสรุป บทความทางวิชาการที่ดีควรมีการสรุปประเด็นสำคัญๆ ของบทความนั้นๆ รายละเอียด ดังนี้
6.1 การย่อ คือ การเลือกเก็บประเด็นสำคัญๆ ของบทความนั้นๆ มาเขียนรวมกันไว้อย่างสั้นๆ ท้ายบท
6.2 การบอกผลลัพธ์ว่าสิ่งที่กล่าวมามีความสำคัญอย่างไร
6.3 การบอกแนวทางการนำไปใช้ของสิ่งที่กล่าวมาว่าสามารถนำไปใช้อะไรได้บ้าง หรือจะ ทำให้เกิดอะไรต่อไป
6.4 การตั้งคำถามหรือให้ประเด็นทิ้งท้ายกระตุ้นให้ผู้อ่านไปสืบเสาะแสวงหาความรู้ หรือ คิดค้นพัฒนาเรื่องนั้นต่อไป
- รายการอ้างอิง
7.1 ผู้วิจัยต้องอ่านเอกสารที่ตนจะใช้เป็นเอกสารอ้างอิงก่อนเสมอ
7.2 ไม่ควรอ้างอิงแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ เช่น เว็บไซต์ หนังสือ ตำรา เป็นต้น ควรอ้างอิง จากเอกสารที่เป็นนิพนธ์ต้นฉบับ
7.3 ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากเกินไปจน พร่ำเพรื่อ 7.4 ไม่ควรนำบทคัดย่อมาเป็นเอกสารอ้างอิง
7.5 การอ้างอิงที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์แต่ได้ตอบรับการตีพิมพ์ควรระบุไว้ว่าเป็น “in press” หรือ “forthcoming”
7.6 การอ้างอิงเอกสารที่ไม่ได้รับการตีพิมพ์แต่ได้ส่งเพื่อพิจารณาตีพิมพ์หรือการอ้างอิง ข้อมูลที่ไม่เคยส่งตีพิมพ์ ควรระบุว่าเป็น “upublished data” หรือ “unpublished observations” และควรได้รับคำยินยอมจากเจ้าของเป็นลายลักษณ์อักษร
7.7 เมื่อทำการทวนความ (paraphrase) หรือย่อความ (summarize) มาจากบทความ อื่นไม่ว่าจะเป็นบทความของตนเองหรือบทความของผู้อื่น นักวิจัยควรที่จะอ้างอิงเอกสารต้นฉบับนั้น ไว้ด้วย
7.8 ไม่ควรใช้บทความที่ถูกถอดถอนออกไปแล้วมาเป็นเอกสารอ้างอิง
7.9 ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิง ทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา คือ ชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ของเอกสารที่ถูกอ้างในเนื้อความและเลขหน้าที่อ้างอิง ให้ใส่ไว้ในวงเล็บแทรกอยู่ในเนื้อหาในตําแหน่งที่เหมาะสม รูปแบบ (ชื่อและสกุลผู้แต่ง, \ปีที่พิมพ์, \เลขหน้าที่ใช้อ้างอิง) ตัวอย่าง (ลมุล รัตตากร, 2549, หน้า 11-12)
แนวปฏิบัติที่ดีด้านการเรียนการสอน พ.ศ. 2565
แนวปฏิบัติที่ดี
ด้านการเรียนการสอน
(การใช้แอบปิเคชั่น Microsoft Teams
ในการบันทึกการเรียนการสอน)
จัดทำโดย
คณะอนุกรรมการจัดการความรู้
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
โครงการ
เรื่อง การใช้แอบปิเคชั่น Microsoft Teams ในการบันทึกการเรียนการสอน
วัตถุประสงค์
เพื่อให้นักศึกษาได้มีช่องทางและโอกาสในการทบทวนการเรียนการสอนในห้องเรียน โดยเฉพาะประเด็นสำคัญของเนื้อหา มอบหมายงาน และส่งงานผ่านระบบแอบปิเคชั่น Microsoft Teams นำไปสู่การคิดและวิเคราะห์ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายได้อย่างเป็นระบบและมีเหตุผลสนับสนุนอย่างถูกต้องตามถ้อยคำสำนวนและเจตนารมณ์ของกฎหมาย มีการโต้ตอบระหว่างอาจารย์ผู้สอนกับนักศึกษาผ่านระบบแอบปิเคชั่น เพื่อให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ ตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและแผนกลยุทธ์ของคณะนิติศาสตร์ ดังนี้
- มีความใฝ่รู้ พัฒนาตนเอง และหัวใจใฝ่สร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม
(K: Keep on Learning with innovative mind)
- มีความสามารถปรับตัวในการทำงาน
(A: Adapt oneself to be ready for the work force)
- มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม ร่วมพัฒนาท้องถิ่น
(S: Secure social responsibility)
- เป็นนักปฏิบัติ ซึ่งมีความอดทน มีพลังมุ่งมั่น กระตือรือร้น
(E: Engage proactively with enthusiasm)
- มีจริยธรรม คุณธรรม วุฒิภาวะที่พร้อมสำหรับการดำรงตนในสังคมอย่างเข้มแข็ง มีความสุข
(M: Maintain morality and maturity)
- มีความน่าเชื่อถือและได้รับความไว้วางใจ
(L: Liability)
- เป็นผู้ที่สามารถเข้าถึงได้ และเป็นผู้นำที่เข้าถึงทุกคนได้
(A: Approach)
- มีการพัฒนาการเรียนรู้อยู่เสมอ และมีองค์ความรู้ใหม่ๆทางวิชาชีพที่ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
(W: Well Modernized Skill)
การจัดการเรียนรู้
การเรียนการสอนการเรียนการสอนโดยใช้แอบปิเคชั่น Microsoft Teams ในการบันทึกการเรียนการสอน และผู้สอนสามารถมอบหมายงานและส่งงานผ่านแอบปิเคชั่น Microsoft Teams คือการให้นักศึกษาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายขึ้นในสังคม ตามประเด็นที่นักศึกษาต้องการจะทราบ ข้อเท็จจริงที่ถูกกำหนดขึ้นจะถูกปรับเปลี่ยนโดยการสถานการณ์เกิดขึ้นจริง โดยนักศึกษาจะนำข้อเท็จจริงที่ค้นคว้าสืบค้นข้อมูลจากแหล่งที่อ้างอิงต่างๆ โดยแยกออกเป็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เช่นคำพิพากษาฎีกา บทความ งานวิจัย หรือสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ในคณะ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาปรับวินิจฉัยเข้ากับข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายโดยการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ และนำมาเปรียบเทียบกับปัญหาที่ขึ้น แล้วเรียบเรียงแถลงออกมาทั้งในรูปเอกสารและการแสดงความคิดเห็นทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายอย่างมีเหตุผลสนับสนุน และต่างฝ่ายต่างมีข้อโต้แย้งหักล้างซึ่งกันและกัน
การเรียนการสอนโดยใช้สื่อออนไลน์
การเรียนการสอนโดยใช้สื่อออนไลน์มีหลักการในจัดการเรียนการสอนดังนี้
- ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้อย่างแท้จริง (Student Center) โดยนักศึกษาเป็นผู้เสนอหัวข้อ (Topic) ที่เป็นประเด็นปัญหาในการศึกษา เพื่อให้เกิดแรงกระตุ้นในการศึกษา
- อาจารย์ผู้สอนเป็นผู้กำหนดแนวของเรื่อง (Theme) ตามหัวข้อ (Topic) ที่เกิดขึ้นเพื่อสืบค้นข้อเท็จริงและข้อกฎหมายเพื่อนำมาโต้เถียงกัน (discussion)
- อาจารย์ผู้สอนเป็นผู้ให้คำแนะนำและช่วยเหลือ (Facilitator)
- นักศึกษาจะเป็นผู้ที่แก้ปัญหาโดยการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ด้วยตนเอง (self-directed learning)
- การวิเคราะห์ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายจะต้องมีเหตุผลสนับสนุนที่เชื่อถือได้ และสามารถหักล้างเหตุผลของฝ่ายตรงข้ามได้อย่างมีหลักการและเหตุผล
- การประเมินผลใช้การประเมินผลจากสถานการณ์จริง (authentic assessment) โดยดูจากความสามารถในการปฏิบัติและการแสดงความคิดเห็นของนักศึกษา
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นตอนที่ 1 อาจารย์ผู้สอนศึกษาคู่มือการใช้งานระบบ Microsoft Teams ในการบันทึกการเรียนการสอน
ขั้นตอนที่ 2 อาจารย์ผู้สอนสร้างห้องเรียนผ่านแอบปิเคชั่น Microsoft Teams
ขั้นตอนที่ 3 แจ้งนักศึกษาให้ทราบและฝึกฝนการใช้แอบปิเคชั่น Microsoft Teams เพื่อสามารถใช้แอบปิเคชั่นในการทบทวนบทเรียนและส่งงานตามที่อาจารย์มอบหมาย
ขั้นตอนที่ 4 นักศึกษาสามารถร่วมกันเสนอข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ศึกษาค้นคว้ามา โดยเสนอต่ออาจารย์ผู้สอน ผ่านแอบปิเคชั่น Microsoft Teams โดยอาจารย์ผู้สอนจะเป็นร่วมเสนอแนะข้อเท็จจริงตามที่นักศึกษาต้องการศึกษา
แผนภูมิรูปแบบของการเรียนการสอนการเรียนการสอนโดยใช้สื่อออนไลน์
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้
การใช้เทคโนโลยีสำหรับการเรียนการสอน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่อุปกรณ์ต่างๆ ในชั้นเรียน เช่น สัญญานอินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย เครื่องคอมพิวเตอร์และระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงต้องมีประสิทธิภาพสามารถสืบค้นข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจารย์ผู้สอนต้องมีความรู้ทางด้านการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สืบค้นข้อมูลต่างๆ ที่จะสามารถแนะนำนักศึกษาให้เข้าไปสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ในระบบอินเตอร์เน็ตได้ทันทีด้วย
การประเมินผลการเรียนการสอน
การประเมินผลการเรียนการสอน ประกอบด้วย
- การประเมินผลในเบื้องตนเพื่อตรวจสอบว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้หรือไม่
- การวัดแบบสังเกตพฤติกรรม คือการสังเกตนักศึกษาเป็นรายบุคคล
- การวัดโดยการสัมภาษณ์ คือการพูดคุยกับนักศึกษาในการรับรู้ข้อเท็จจริงและ
การปรับใช้กฎหมายตามที่ได้รับมอบหมายหรือในการจำลองสถานการณ์
- การวัดการเรียนรู้ภายในห้องเรียน แยกดังนี้
- ความจำ พิจารณาจากความสามารถในการจำข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
- ความเข้าใจ พิจารณาจากการที่นักศึกษาสามารถเข้าใจข้อเท็จจริง กำหนดประเด็นข้อพิพาทและตีความกฎหมายได้อย่างถูกต้องหรือไม่เพียงใด
- การนำไปใช้ พิจารณาจากการที่นักศึกษาสามารถนำความจำและความเข้าใจไปปรับใช้ในสถานการณ์จำลองได้อย่างมีเหตุผลและมีความยุติธรรมหรือไม่เพียงใด
- การวิเคราะห์ พิจารณาจากความสามารถของนักศึกษาในการแยกแยะข้อเท็จจริง
ข้อกฎหมายและประเด็นสำคัญที่ซ้อนอยู่ในข้อเท็จจริงที่ได้รับ
- การสังเคราะห์ พิจารณาจากความสามารถของนักศึกษาในการรวบรวมข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายและแนวทางแห่งความยุติธรรม(แนวคำพิพากษาฎีกา) แล้วนำมาแสดงออกอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอนและมีความถูกต้อง
- การวัดและประเมินผล
ทำการวัดและประเมินความสามารถของนักศึกษาที่ได้แสดงบทบาทในสถานการณ์ที่ถูกจำลองขึ้นซึ่งใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นจริง เป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยนำกระบวนการคิด วิเคราะห์และสังเคราะห์มาใช้อย่างเป็นระบบ ซึ่งวิธีการวัดและประเมินผลในด้านความสามารถนั้น กำหนดได้ดังนี้
3.1) การมอบหมายงานตามเนื้อหาของวิชาซึ่งระบุใน มคอ.3 ให้นักศึกษาฝึกฝนและทบทวนเนื้อหาวิชาที่เรียนเพื่อให้เห็นความสามารถในการคิด วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบและมีเหตุผลสนับสนุน
3.2) กำหนดภาระงานโดยการจำลองสถานการณ์ขึ้น นักศึกษาต้องจัดทำเอกสารเป็นรูปเล่มที่แสดงถึงการสืบค้น การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายและแนวทางแห่งความยุติธรรม (คำพิพากษาฎีกา) โดยแยกเป็นภาระงานกลุ่มและภาระงานส่วนตัว
3.3) กำหนดให้มีแฟ้มสะสมงาน แยกเป็นแฟ้มสะสมงานกลุ่มและแฟ้มสะสมงานส่วนตัว ซึ่ง เกิดจากการดำเนินงานของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีหลักการและเหตุผลสนับสนุน ตามที่อาจารย์ผู้สอนได้มอบหมายงานหรือจำลองสถานการณ์ขึ้น เพื่อทราบถึงการเรียนรู้ของนักศึกษาว่าเป็นไปตามเป้าหมายของการศึกษาในวิชาที่กำหนดไว้หรือไม่
กรอบของการเรียนการสอนใช้แอบปิเคชั่น Microsoft Teams ในการบันทึกการเรียนการสอน
การเรียนการสอนการเรียนการสอนโดยใช้สื่อออนไลน์ มีกรอบการดำเนินการดังนี้
เกณฑ์การวัดผล | น้ำหนัก
(ร้อยละ) |
วิธีประเมิน | เครื่องมือ |
1) ความรู้ตาม
เนื้อหาของวิชา |
60 | ทดสอบ | ข้อสอบปลายภาค |
2) พฤติกรรม
ระหว่างเรียน |
10 | สังเกต | แบบสังเกตพฤติกรรมในห้องเรียน |
3) ภาระงานที่
มอบหมาย |
10 | ผลงาน | แฟ้มสะสมงานส่วนตัว |
4) ทักษะในการ
เรียนภาคปฏิบัติ |
20 | สังเกต/ผลงาน | แฟ้มสะสมงานกลุ่ม |
คณะอนุกรรมการจัดการความรู้
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
I am text block. Click edit button to change this text. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.