หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์

เกี่ยวกับหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ เป็นหลักสูตรการศึกษาที่ส่งเสริมความรู้ ความสามารถในการค้นคว้าวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและประเทศ

ประวัติความเป็นมาหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต และผ่านการพิจารณาความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ให้เปิดดำเนินการ ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2549 มุ่งเน้นการผลิตดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา กลุ่มวิชา จิตวิทยาการเรียนรู้และการสอน (Psychology of Learning and Instruction) กลุ่มวิชา จิตวิทยาการบริหารจัดการ (Psychology for Management) และ กลุ่มวิชา จิตวิทยาการให้คำ ปรึกษา (Counseling Psychology) ที่กอร์ปด้วย พลังปัญญา คุณค่า คุณธรรม คุณประโยชน์ เพื่อพัฒนาศาสตร์ และวิชาชีพทางจิตวิทยา สู่การเสริมสร้างศักยภาพมนุษย์และสังคมให้เข้มแข็งและยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตทางจิตวิทยา ให้เป็น นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ และผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีความเชี่ยวชาญทางจิตวิทยาตามสมรรถนะที่พึงประสงค์ด้านความรู้ (Knowledge Competencies) ด้านการรู้คิด (Cognitive Competencies) ด้านการวิจัย(Research Competencies) ด้านการปฏิบัติ(Performance Competencies) และด้านคุณธรรม(Moral Competencies)เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการนำศาสตร์และนวัตกรรมทางจิตวิทยาไปใช้ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่พึงประสงค์ตลอดจนสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตและบริบทแวดล้อม เพื่อมุ่งสู่คุณภาพ และดุลยภาพที่ยั่งยืนของมนุษย์และสังคม
ปีการศึกษา 2554 หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา มีการปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มุ่งเน้นการผลิตดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา กลุ่มวิชา จิตวิทยาเพื่อพัฒนาศักยภาพมนุษย์และองค์การ(Psychology for Developing Human Potentials and Organizations) กลุ่มวิชา จิตวิทยาการปรึกษา (Counseling Psychology) และ กลุ่มวิชา จิตวิทยาเพื่อบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ (Psychology for Person with Special Needs)
ในปีการศึกษา 2559 หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา มีการปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2558 มุ่งเน้นการผลิตดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา กลุ่มวิชา จิตวิทยาเพื่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ (Psychology for Developing Human Potentials) เป็นหลักสูตรแบบ 2.1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการทำดุษฎีนิพนธ์ที่มีคุณภาพสูงและก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพขั้นสูงและศึกษารายวิชาเพิ่มเติม เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมความรู้ความสามารถในการค้นคว้าวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรม ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานสังคมและประเทศ
ในปีการศึกษา 2562 หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2558 โดยปรับเปลี่ยนให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น เปลี่ยนเป็น หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ (Doctor of Philosophy Program in Psychology for Developing Human Potentials) มุ่งเน้นการผลิตดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ แบ่งรูปแบบการศึกษาเป็น 2 แบบ คือ แบบ 1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยและ แบบ 2.2 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยและศึกษารายวิชาเพิ่มเติม

ปรัชญาหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ เป็นหลักสูตรการศึกษาที่ส่งเสริมความรู้ ความสามารถในการค้นคว้าวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและประเทศ

วัตถุประสงค์หลักสูตร
  1. เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีความรู้เชิงลึก เข้าใจอย่างถ่องแท้ในศาสตร์และวิชาชีพด้านจิตวิทยาและสมรรถนะการวิจัยเพื่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์
  2. เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีทักษะทางปัญญา มีความสามารถในการบูรณาการความรู้ทางจิตวิทยาและศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อสร้างองค์ความรู้นวัตกรรมและกลยุทธ์การ
  3. พัฒนาศักยภาพมนุษย์ที่รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมในโลกดิจิทัล
  4. เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตให้เป็นผู้ที่สามารถพัฒนาตนเต็มศักยภาพ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มุ่งพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพที่เหมาะสมกับความต้องการและการเปลี่ยนแปลง ของสังคม
  5. เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตให้เป็นนักปฏิบัติเชิงรุกในการร่วมป้องกันแก้ไขปัญหา โดยการประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ และกลยุทธ์ทางจิตวิทยา เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เพิ่มมูค่า แก่ตนเอง สังคม และประเทศ
  6. เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตให้เป็นผู้ที่สามารถใช้ภาษาสากลและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ การสื่อสารและการพัฒนาศักยภาพมนุษย์
  7. เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตให้เป็นผู้มีคุณธรรม มีความกล้าหาญทางจริยธรรม ยึดมั่นในความถูกต้อง และจรรยาบรรณวิชาชีพ
  8. เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตให้เป็นผู้นำการพัฒนาจิตปัญญาในการขจัดความขัดแย้งและเสริมสร้างสันติสุขอย่างยั่งยืนในสังคมไทยและประชาคมโลก

ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์
Doctor of Philosophy Program in Psychology for Developing Human Potentials
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา:
ชื่อเต็ม : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (จิตวิทยาเพื่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์)
 Doctor of Philosophy (Psychology for Developing Human Potentials)
ชื่อย่อ : ปร.ด. (จิตวิทยาเพื่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์)
 Ph.D. (Psychology for Developing Human Potentials)

รูปแบบของหลักสูตร แบ่งการศึกษาเป็น 2 แบบ คือ
แบบ 1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทําดุษฎีนิพนธ์ที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่สถาบันอุดมศึกษาอาจกําหนดให้เรียนรายวิชาเพิ่มเติมหรือทํากิจกรรมทางวิชาการอื่นเพิ่มขึ้นก็ได้ โดยไม่นับหน่วยกิต แต่จะต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่สถาบันอุดมศึกษากําหนด โดยหลักสูตรใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ 1.1 คือ ผู้เข้าศึกษาที่สําเร็จปริญญาโทจะต้องทําดุษฎีนิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
แบบ 2 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยและศึกษารายวิชาเพิ่มเติม โดยมีการทําดุษฎีนิพนธ์ที่มีคุณภาพ สูงและก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ และศึกษางานรายวิชาเพิ่มเติม โดยหลักสูตรใช้รูปแบบการเรียนการสอน แบบ 2.1 คือ ผู้เข้าศึกษาที่สําเร็จปริญญาโทจะต้องทําดุษฎีนิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และศึกษางานรายวิชาอีกไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
แบบ 1.1 แผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย
  1. ผู้สมัครต้องสําเร็จการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิตทางจิตวิทยาหรือเทียบเท่าจากหลักสูตรที่หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจตามกฎหมายให้การรับรอง
  2. ผู้สมัครต้องมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยา มีคุณสมบัติเหมาะสมตามดุลยพินิจของคณะกรรมการประจำหลักสูตร
  3. ผู้สมัครต้องเสนอโครงงานวิจัยทางจิตวิทยาต่อคณะกรรมการประจำหลักสูตร
  4. ผู้สมัครต้องมีใบแจ้งผลการสอบวัดความรู้ทางภาษาอังกฤษ ได้แก่ CU-TEP /IELTS /TOEFL /TU-GET เป็นไปตามเกณฑ์ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
แบบ 2.1 แผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยและศึกษารายวิชาเพิ่มเติม
  1. ผู้สมัครต้องสําเร็จการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิตหรือเทียบเท่าจากหลักสูตรที่หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจตามกฎหมายให้การรับรอง
  2. ผู้สมัครต้องเสนอโครงงานวิจัยทางจิตวิทยาต่อคณะกรรมการประจำหลักสูตร
  3. ผู้สมัครต้องมีใบแจ้งผลการสอบวัดความรู้ทางภาษาอังกฤษ ได้แก่ CU-TEP /IELTS /TOEFL /TU-GET เป็นไปตามเกณฑ์ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1
นักจิตวิทยา
4
นักวิจัย
2
นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
5
นวัตกรด้านการพัฒนาศักยภาพมนุษย์
3
นักวิชาการ อาจารย์ วิทยากร ที่ปรึกษา

โครงสร้างหลักสูตร
แบบ 1.1 แผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย
1) วิชาเสริมพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
2) ดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต
จํานวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต
แบบ 2.1 แผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยและศึกษารายวิชาเพิ่มเติม
1) วิชาเสริมพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
2) วิชาเฉพาะ 9 หน่วยกิต
3) วิชาเลือก 3 หน่วยกิต
4) ดุษฎีนิพนธ์ 36 หน่วยกิต
จํานวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต
รายวิชาในหลักสูตร
แบบ 1.1 แผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย
วิชาเสริมพื้นฐาน
  • จว 8510 ภาษาอังกฤษสำหรับดุษฎีบัณฑิตทางจิตวิทยา 1
  • จว 8511 ภาษาอังกฤษสำหรับดุษฎีบัณฑิตทางจิตวิทยา 2
  • จว 8515 ระเบียบวิธีวิจัยและสถิติขั้นสูงทางจิตวิทยา
การสอบวัดคุณสมบัติ
  • จว 1001 การสอบวัดคุณสมบัติ
ดุษฎีนิพนธ์
  • จว 9003 ดุษฎีนิพนธ์
รายวิชาในหลักสูตร
แบบ 2.1 แผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยและศึกษารายวิชาเพิ่มเติม
วิชาเสริมพื้นฐาน
  • จว 8510 ภาษาอังกฤษสำหรับดุษฎีบัณฑิตทางจิตวิทยา 1
  • จว 8511 ภาษาอังกฤษสำหรับดุษฎีบัณฑิตทางจิตวิทยา 2
  • จว 8512 ทฤษฎีจิตวิทยาสำหรับสังคมยุคใหม่
วิชาเฉพาะ
  • จว 8513 กระบวนทัศน์และกลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพมนุษย์สำหรับสังคมยุคดิจิทัล
  • จว 8514 เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์สำหรับสังคมยุคใหม่
  • จว 8515 ระเบียบวิธีวิจัยและสถิติขั้นสูงทางจิตวิทยา
วิชาเลือก
  • จว 8516 สัมมนาจิตวิทยาภาวะผู้นำในโลกยุคดิจิทัลและความหลากหลายทางวัฒนธรรม
  • จว 8517 การทดสอบและการประเมินทางจิตวิทยา
  • จว 8518 สัมมนาประเด็นสำคัญในการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  • จว 8519 สัมมนาการปรึกษาครอบครัวที่มุ่งประสิทธิผล
การสอบวัดคุณสมบัติ
  • จว 1002 การสอบวัดคุณสมบัติ
ดุษฎีนิพนธ์
  • จว 9004 ดุษฎีนิพนธ์