หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการ
เหตุผลและจุดมุ่งหมาย
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะและการจัดการ มุ่งให้ความรู้ทางวิชาการสาขานโยบายสาธารณะและการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีผลกระทบต่อระบบการบริหารงานภาครัฐและเอกชน ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ดุษฎีบัณฑิตตามหลักสูตรนี้ส่งเสริมให้บุคลากรมีศักยภาพความเป็นเลิศทางวิชาการ และจะมีบทบาทในการนำศาสตร์ ความรู้และนวัตกรรมทางการบริหารนโยบายสาธารณะและการจัดการ ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในองค์กรวิชาชีพและการจัดการงานสาธารณะทั่วไปได้
ปรัชญา และวัตถุประสงค์
ปรัชญา
หลักสูตรมีความมุ่งมั่นในการผลิตนักบริหารและนักวิชาการระดับสูงยุคใหม่ ในสาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการ ผู้ซึ่งเป็นผู้นาการเปลี่ยนแปลง มีขีดความสามารถในการกำหนดยุทธศาสตร์ในการกำหนดนโยบายสาธารณะ และการนำนโยบายสาธารณะไปสู่การปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่และการบริหารจัดการที่ดี มีความสามารถในการจัดการองค์ความรู้ในสาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการ ซึ่งเป็นแบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary Approach) ในระดับชาติและนานาชาติ เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมในการบริหารและการจัดการ ก่อให้เกิดการพัฒนา สามารถอำนวยประโยชน์สูงสุดกับองค์กรในทุกระดับสังคมของประเทศ คณาจารย์ และนักศึกษาในหลักสูตรให้ความสำคัญต่อการทาประโยชน์ต่อสังคม (Contributions to society) โดยการเป็นผู้นำ และ/หรือการมีส่วนร่วมในการเสวนา (Dialogue) การอภิปราย การวิจัย และการเผยแพร่ผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะในวาระ บริบท และช่องทางต่างๆที่เหมาะสม

วัตถุประสงค์
  1. เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตในสาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการ ให้มีสมรรถนะพึงประสงค์ (Desired Competencies) เพื่อตอบสนองทั้งองค์กรและสังคมไทย ในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
    • ความเป็นผู้นำ (Leadership)
    • ความรู้ (Knowledge)
    • การรู้คิด (Cognition)
    • การปฏิบัติ (Performance)
    • การวิจัย (Research)
    • คุณธรรมและจริยธรรม (Moral & Ethics)
  2. เพื่อพัฒนาผู้บริหารงานภาครัฐและเอกชน ให้มีศักยภาพและความรู้ความสามารถสูงขึ้น รวมทั้งพัฒนาผู้ปฏิบัติงานในองค์กรต่างๆ เพื่อก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนักบริหารในหน่วยงานวิชาชีพและงานสาธารณะต่างๆ
  3. เพื่อผลิตนักวิชาการ ให้มีความสามารถการค้นคว้าวิจัย สร้างองค์ความรู้ใหม่ ตลอดจนนำวิชาการไปประยุกต์ใช้ในการบริหารและการพัฒนาองค์กร
  4. เพื่อส่งเสริมการวิจัยและค้นคว้าทางวิชาการ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านนโยบายสาธารณะและการจัดการในประเทศไทย
  5. เพื่อส่งเสริมบทบาทการบริการทางวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตในฐานะสถาบันอุดมศึกษาชั้นสูงของประเทศ
ระบบจัดการศึกษา
  1. จัดการศึกษาระบบทวิภาค ข้อกำหนดต่าง ๆ เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
  2. มีการจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน
หลักสูตรและโครงสร้าง
รายวิชาไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
วิชาบังคับ9หน่วยกิต
วิชาเลือก3หน่วยกิต
ดุษฎีนิพนธ์36หน่วยกิต
รายวิชาไม่นับหน่วยกิต (วิชาพื้นฐาน)12หน่วยกิต
รวม48หน่วยกิต

ค่าเล่าเรียนชำระแบบเหมาจ่ายภาคการศึกษาละ 60,000 บาท รวมทั้งสิน 600,000 บาท (ไม่รวมค่าเดินทางไปดูงานต่างประเทศ)