หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว
รู้จักหลักสูตร
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา:
ชื่อเต็ม : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว)
 Doctor of Philosophy (Hospitality Industry and Tourism Management)
ชื่อย่อ : ปร.ด. (การจัดการอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว)
 Ph.D. ((Hospitality Industry and Tourism Management)
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว เปิดดำเนินการการเรียนการสอนครั้งแรกในปีการศึกษา พ.ศ. 2560 และดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรครั้งที่ 1 ในปีการศึกษา 2564 เป็นหลักสูตรที่นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประยุกต์เข้ากับแนวคิดปัจจุบันของการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยใช้การจัดการอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยวในการผสานประโยชน์ของการอนุรักษ์และการพัฒนา และเป็นเครื่องมือในการรักษาสมดุลของการบริโภคและการผลิต ด้วยการปรับใช้สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ปรัชญา
ผลิตบัณฑิตที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความรู้ และคุณลักษณะของนักวิชาการ พร้อมด้วยทักษะนักวิชาชีพด้านการจัดการอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว มีทักษะการจัดการแบบบูรณาการ มีธรรมาภิบาลทางวิชาชีพ มีความสามารถในการค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่โดยกระบวนการวิจัย มีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น และมีประสบการณ์ตรงในการร่วมงานกับนักวิชาการและนักวิชาชีพด้านการจัดการอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว

ความสำคัญ
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยวเป็นหลักสูตรที่นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประยุกต์เข้ากับแนวคิดปัจจุบันของการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยใช้การจัดการอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยวในการผสานประโยชน์ของการอนุรักษ์และการพัฒนา และเป็นเครื่องมือในการรักษาสมดุลของการบริโภคและการผลิต ด้วยการปรับใช้สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ หลักสูตรมีความมุ่งหมายที่พัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้เอื้ออำนวยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับท้องถิ่น โดยใช้การจัดการอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับภูมิสังคม ภูมิปัญญา และภูมิคุ้มกันที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน รวมทั้งเชื่อมโยงท้องถิ่นเป็นเครือข่ายภาคชุมชน ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งนี้ยังเน้นให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์ บูรณาการสารัตถะต่าง ๆ บนพื้นฐานของการวิจัย ตลอดจนเสริมสร้างภาวะผู้นำ คุณธรรม จริยธรรม และจิตอาสาแบบประชาธิปไตย รวมทั้งมีมุมมองเกี่ยวกับวิถีของประชาคมอาเซียนด้วย

วัตถุประสงค์
  1. เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจอย่างถ่องแท้และลึกซึ้งในศาสตร์ และวิชาชีพทางด้านการจัดการอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว
  2. เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตให้เป็นผู้มีทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ เชิงสังเคราะห์ เชิงวิพากษ์ แล้วพัฒนาเป็นประเด็นวิจัย สร้างกรอบแนวคิดการวิจัย และดำเนินการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านการจัดการอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง ความเสี่ยงและภาวะวิกฤติ
  3. เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตให้เป็นผู้มีทักษะการจัดการแบบบูรณาการ ด้วยการใช้อุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือ กลไก และพลังขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยมีแนวทางและทิศทางของการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นเป้าหมายสำคัญ
  4. เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตให้เป็นผู้มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ การเผยแพร่ความรู้ ความคิดและข้อเสนอทางวิชาการด้านการจัดการอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีและการจัดกิจกรรม ทักษะการติดต่อสื่อสาร ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1
นักวิชาการ นักวิจัยเชิงพื้นที่ อาจารย์ในสถาบันการศึกษาทั้งของภาครัฐและเอกชน
4
วิทยากร ที่ปรึกษา ผู้ประสานงานภาคี เครือข่าย และโครงข่ายธุรกิจบริการ อุตสาหกรรมบริการและโซ่คุณค่าการท่องเที่ยว
2
นักวางแผน นักวิเคราะห์นโยบายและแผนของหน่วยงานภาครัฐ ทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นที่ใช้การท่องเที่ยวเป็นกลไกการบูรณาการภารกิจโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง
5
วิทยากร ที่ปรึกษา ผู้ประสานงานภาคี เครือข่าย และโครงข่ายธุรกิจบริการ อุตสาหกรรมบริการและโซ่คุณค่าการท่องเที่ยว
3
ผู้จัดการ พัฒนากร และผู้ปฏิบัติงานเชิงพื้นที่ขององค์กรต่างๆ ด้านอุตสาหกรรมบริการและ/หรือการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ วัฒนธรรมและศิลปะ ในระดับชุมชน จังหวัด กลุ่มจังหวัด พื้นที่พิเศษ ภาคและภูมิภาค
โครงสร้างหลักสูตร
1. จำนวนหน่วยกิต
แบบ 2.1 ไม่น้อยกว่า 54 หน่วยกิต

2. ระยะเวลาการสำเร็จการศึกษา
ใช้เวลาศึกษาตลอดหลักสูตรไม่เกิน 6 ปีการศึกษา

3. โครงสร้างหลักสูตร
วิชาเสริมพื้นฐานไม่น้อยกว่า 7 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
วิชาบังคับไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
วิชาเลือกไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
ดุษฎีนิพนธ์  36 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 54 หน่วยกิต

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร ประมาณ 500,000 บาท